วันจันทร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554





ภาพการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับต้นจามจุรี



ภาพบอร์ด



ภาพสมาชิก


ภาพการชมงาน



ครูร่วมดูงาน


การเพผยแพร่ความรู้


วันเสาร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ต้นจามจุรี

ต้นจามจุรี
Samenea saman Jacq.Merr.

 
อาณาจักร :Plantae
ส่วน  :Magnoliophyta
ชั้น  : Magnoliopsida
อันดับ  : Fabales
ชื่อวงศ์   :Leguminosae-Minosoideae
สกุล  :Samanea
สปีซีส์  :S.saman
ชื่อวิทยาศาสตร์  : Samanea saman (Jacg.) Merr.
ชื่อสามัญ :  จามจุรี
ชื่อทางการค้า    :Eastindian walnut, Raintree.
ชื่อพื้นเมือง  :ก้ามกราม, ก้ามกุ้ง, ก้ามปู, จามจุรี, (ภาคกลาง) ฉำฉา, ลัง,สารสา, สำสา (ภาคเหนือ), ตุ๊ดตู่ (ตาก)
จามจุรี เป็นพันธุ์ไม้ที่รู้จักกันทั่วไป อาจพบเห็นได้ตามริมถนน วัด หรือสถานที่ราชการต่างๆ เข้าใจว่ามิสเตอร์ เอช เสลด (Mr. H. Slade.) อธิบดีกรมป่าไม้คนแรกได้นำพันธุ์จากประเทศพม่ามาปลูกเป็นครั้งแรกที่ทำการป่าไม้เขตเชียงใหม่ ประมาณปี พ.ศ. 2443 ต่อมาจึงได้นำไปปลูกตามถนนกรุงเทพฯ และจังหวัดอื่นๆ อย่างแพร่หลายเนื่องจากเป็นไม้โตเร็วเรือนยอดแผ่กว้างให้ร่มเงาเป็นอย่างดี ทางภาคเหนือนิยมปลูกเลี้ยงครั่ง อาจกล่าวได้ว่าวัตถุประสงค์ของการนำเข้าไม้จามจุรีเข้ามาในประเทศตั้งแต่เดิมนั้นมาในลักษณะไม้ประดับ และให้ร่มตลอดจนปลูกเพื่อใช้เลี้ยงครั่งเท่านั้น ผู้ปลูกมิได้มุ่งหวังที่จะใช้เนื้อไม้ชนิดนี้ไปเป็นประโยชน์ในด้านการค้าเลยทั้งนี้เนื่องจากไม้จามจุรีเป็นไม้ไม่สู้แข็ง ผุง่าย จึงไม่มีผู้นิยมใช้ในการก่อสร้าง เพราะในขณะนั้นประเทศไทย ยังมีไม้ที่มีคุณภาพดีกว่าอยู่มากมายทั้งที่ความจริงตลาดต่างประเทศต้องการเนื้อไม้จามจุรีนานแล้ว เช่น ฮ่องกง ซึ่งสั่งซื้อโดยตรงจากประเทศฟิลิปปินส์ ครั้นเมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ต้นจามจุรีในฟิลิปปินส์จะมีเสก็ดระเบิดของกระสุนลูกปืนอยู่ตามลำต้นไม้เป็นจำนวนมาก ประเทศผู้รับซื้อจึงหันมาซื้อจากไทยซึ่งเป็นเวลาเดียวกับที่ราคาครั่งในเมืองไทยประสบภาวะปัญหาราคา ต่ำลง ดังนั้นเมื่อเนื้อไม้สามารถขายได้ราคาดีกว่าประกอบกับความต้องการที่จะเปลี่ยนชนิดพืชเศรษฐกิจไปเป็นพืชอื่น ชาวสวนครั่งทางภาคเหนือของไทยจึงตัดฟันไม้จามจุรีลงเพื่อขายเนื้อไม้ในราคาไม้ท่อน ซึ่งราคาดีกว่า จึงพบว่าพื้นที่สวนจามจุรีเพื่อการเลี้ยงครั้งทางภาคเหนือได้ลดลงมาก จนเหลือเพียงเล็กน้อยในปัจจุบันทั้งที่ความต้องการใช้เนื้อไม้จามจุรีเพื่อการแกะสลักในประเทศไทยได้เพิ่มสูงขึ้นเป็นลำดับ สาเหตุหนึ่งเนื่องจากการขาดแคลนไม้สักในการแกะสลัก และไม้สักมีราคาแพง ผู้ผลิตจึงหันมาใช้ไม้จามจุรีซึ่งสามารถหาได้ในชนบท และราคาถูกกว่าไม้สักมาก เนื้อไม้ยังมีสีสวยเหมาะในการทดแทนไม้สักในอุตสาหกรรมไม้แกะสลัก
จากรายงานทางวิชาการและรายงานศึกษาผลวิจัยเกี่ยวกับไม้จามจุรีทำให้ทราบว่าไม้จามจุรีนั้นสามารถใช้ประโยชน์ได้หลายด้านทั้งเป็นเนื้อไม้ เป็นพืชอาหารสัตว์และปรับปรุงสภาพดินให้ดีขึ้น เป็นต้น ซึ่งนอกเหนือจากใช้ประโยชน์ตรงการเลี้ยงครั่ง แต่การปลูกสร้างสวนป่าไม้จามจุรีในประเทศไทยเพื่อใช้ประโยชน์จากเนื้อไม้โดยตรงยังไม่มี มีเพียงเพื่อการเลี้ยงครั่งดังกล่าว แต่ก็มีเพียงน้อยนิดเมื่อเทียบกับสวนป่าไม้อื่นๆ ดังนั้นกรมป่าไม้จึงได้มีนโยบาย ส่งเสริมให้ ประชาชนปลูกไม้จามจุรี ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อให้มีการใช้ประโยชน์จากไม้อเนกประสงค์ชนิดนี้ ต่อไป
ลักษณะทั่วไป
จามจุรีเป็นพืชตระกูลถั่ว (Family Leguminosae) อนุวงศ์สะตอ (Sub-Family Mimosaceae) มีชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า Samanea saman Jacq Merr. ส่วนชื่อที่เป็นที่รู้จักในประเทศไทยได้แก่ จามจุรี ก้ามกลาม จามจุรีแดง ก้ามปู ก้ามกุ้ง (ไทย) ฉำฉา สารสา สำลา ตุ๊ดตู่ ลัง (พายัพ) ในภาษาอังกฤษชื่อที่เรียกกันแพร่หลาย คือ Rain tree ซึ่งน่าจะมาจากนิสัยของต้นไม้ชนิดนี้โตเร็วผิดกับต้นไม้อื่นๆ คือ เมื่อฤดูฝนผ่านไปครั้งหนึ่งต้นไม้ชนิดนี้โตเร็วผิดกับต้นไม้อื่นๆ คือ เมื่อฤดูฝนผ่านไปครั้งหนึ่งต้นไม้นี้จะโตขึ้นอย่างสังเกตเห็นได้ชัด จามจุรีเป็นไม้ผลัดใบโตเร็วต่างประเทศ เรือนยอดแผ่กว้างคล้ายรูปร่มเรือนยอดสูงประมาณ 40 ฟุต สูง 20 – 30 เมตร เปลือกสีดำ แตกและร่อนลักษณะเนื้อไม้มีลวดลายสวยงาม แก่นสีดำ แตกและร่อนลักษณะเนื้อไม้มีลวดลายสวยงาม แก่นสีดำคล้ำคล้ายมะม่วงป่าหรือวอลนัท เมื่อนำมาตกแต่งจะขึ้นเงาเป็นมันแวววาวนับเป็นพรรณไม้ที่มีลักษณะสวยงามตามธรรมชาติ กำลังของไม้มีความแข็งแรงเท่าเทียมไม้สมพง แต่มีลักษณะพิเศษคือมีกำลังดัดงอ (bending strenght) สูงมาก และความชื้นในเนื้อไม้สูงทั้งต้นของจามจุรีมีสารพวกแอลคาลอยด์ (alkaloid) ชื่อพิธทิโคโลไบ (piththecolobine) ที่มีพิษใช้เป็นยาสลบ
ใบ เป็นใบผสมแบบขนนกสองชั้นทั้งใบยาวประมาณ 25 – 40 เซนติเมตร ใบประกอบด้วยช่อใบ 4 คู่ ใบย่อย 2 – 10 คู่ ต่อหนึ่งใบ ใบย่อยเกิดบนก้านใบซึ่งแยกจากก้านใหญ่ ใบย่อยรูปขนานเปียกปูนแต่เบี้ยว ใบย่อยด้านปลายใบใหญ่ที่สุดใบย่อยหนาปานกลาง ด้านหน้าใบสีเขียวเข้มเป็นมัน ด้านหลังใบสีเขียวนวล และมีขนเล็กน้อย

ดอก เป็นช่อดอกทรงกลม แต่ละช่อรวมกันเป็นช่อใหญ่ ช่อดอกเกิดที่ปลายกิ่ง กลีบดอกเล็กมาก แต่ละช่อดอกมีดอกตัวเมียดอกเดียว และล้อมรอบด้วยดอกตัวผู้เป็นจำนวนมาก ดอกบานมีสีชมพูซึ่งเป็นสีของเกสรตัวผู้ จามจุรีออกดอกระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ พฤษภาคม
 


ผล เป็นฝักแบนเมื่อแก่ก็จะไม่แตก ฝักแก่จะมีสีน้ำตาลดำขนาดกว้าง 1.5 – 2 เซนติเมตร ยาว 12 – 20 เซนติเมตร ภายในฝักมีเนื้อนิ่มรสหวาน ฝักหนึ่งๆ มีเมล็ด 15 – 25 เมล็ด เมล็ดสีน้ำตาลดำยาว 0.5 – 0.8 เซนติเมตร ฝักแก่ระหว่างเดือนตุลาคม มกราคม


 
จามจุรีเป็นไม้ต่างถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศแถบอเมริกากลาง ทวีปอเมริกาใต้ เช่น กัวเตมาลา เปรู โบลิเวีย บราซิล รวมทั้งในหมู่เกาะอินดิสตะวันตก และในแถบยุโรป ปัจจุบันได้มีการนำไปปลูกกันอย่างแพร่หลายในประเทศโซนร้อนเกือบค่อนโลก รวมทั้งประเทศไทยด้วย
 

สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม
จามจุรีสามารถเจริญเติบโตได้ดีในเขตร้อนที่มีฝนตกชุกปานกลาง ถึงฝนตกหนักตลอดปีเป็นต้นไม้ที่ชอบน้ำ และความชุมชื้น เช่นในหมู่เกาะอินดิสตะวันตก ฟิลิปปินส์ พม่า มาเลเซีย และไทย
การขยายพันธุ์
ปัจจุบันจามจุรีสามารถขยายพันธุ์ได้ด้วยเมล็ด ซึ่งผลของจามจุรีนั้นจะแก่ในช่วงฤดูหนาว ระหว่างเดือนตุลาคม มกราคม ซึ่งมีการเก็บเมล็ดกันมากในช่วงนี้ในบริเวณที่พบจามจุรี โดยทั่วๆ ไป สำหรับแหล่งเมล็ดพันธุ์จามจุรีของกรมป่าไม้ คือ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เนื่องจากมีต้นจามจุรีอยู่มาก
การปลูก
การปลูกจามจุรีที่มีอยู่ในปัจจุบันเพื่อผลทางการเศรษฐกิจจึงเป็นไปเพื่อการเลี้ยงครั่งเป็นหลัก ประโยชน์อย่างอื่น เช่น เนื้อไม้ พืชอาหารสัตว์ จึงเป็นผลพลอยได้ และการปลูกสวนจามจุรีเพื่อการเลี้ยงครั่ง   นั้นมีขั้นตอนดังต่อไปนี้
1. การเตรียมพื้นที่และการเพาะปลูก เนื่องจากจามจุรีเป็นไม้โตเร็วต่างประเทศ ซึ่งปลูกง่ายและขยายพันธุ์ได้เร็ว เป็นไม้ที่ไม่เลือกชนิดของดิน แต่จะเจริญเติบโตได้ดีในที่ราบสูงตั้งแต่ริมทะเลไปจนถึงที่ที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 300 – 400 เมตร จึงสามารถขึ้นได้ทั่วไปในประเทศไทย ในขั้นตอนของการเตรียมพื้นที่ปลูกจะเหมือนๆ กับการปลูกสร้างสวนป่าอื่นๆ คือ การเก็บเผา และ ไถดะเพื่อปรับสภาพพื้นที่ให้เหมาะสมต่อการปลูก หลังจากที่ได้มีการนำเมล็ดไปเพาะแล้ว อาจนำไปปลูกได้เลยหรือใช้เมล็ดหยอดหลุม โดยขุดหลุมกว้างและลึก 30 เวนติเมตร แต่การย้ายกล้าปลูกจะมีอัตราการรอดตายสูงกว่า ระยะในการปลูก 4 x 4 เมตร และ 4 x 6 เมตร หรือ 4 x 8 เมตร แต่เนื่องจากเป็นไม้ที่มีเรือนพุ่มขนาดใหญ่ ดังนั้นจึงต้องตัดสางออกในระหว่างการปลูกช่วงแรก โดยให้มีระยะการปลูก 10 x 10 เมตร ดังนั้นในพื้นที่ 1 ไร่ จะมีจามจุรี 16 ต้น แต่หากความอุดมสมบูรณ์ของดินต่ำระยะปลูกระหว่างต้นและระหว่างแถวจะน้อยกว่า 10 เมตร ก็ได้
2. การบำรุงรักษา ภายหลังการปลูกแล้วต้องมีการบำรุงรักษาให้ต้นไม้รอดตาย โดยมีการปลูกซ่อมในภายหลังโดยจะต้องทำการป้องกันไฟ โดยทำแนวกันไฟรอบบริเวณแปลงปลูกต้นไม้และมีการแผ้วถางวัชพืชอย่างน้อยปีละ 2 – 3 ครั้ง ในขณะที่ต้นไม้ยังเล็กอยู่หากจะมีการดายหญ้าพรวนดินใส่ปุ๋ย โดยใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยเคมี ใส่ปีละ 1 – 2 ครั้ง ก็เพียงพอจะทำให้ต้นไม้เจริญเติบโตและแข็งแรงดี
3. การตัดแต่งกิ่ง โดยเหตุที่ลูกครั่งชอบอาศัยดูดน้ำเลี้ยงจากกิ่งไม้ของต้นไม้ที่อวบอ่อน ลูกครั่งไม่สามารถดูดน้ำเลี้ยงเป็นอาหารจากกิ่งไม้แก่ๆ เพราะเปลือกไม้แข็งทำให้ลูกครั่งซึ่งมีปากเป้นงวง (probosis) ไม่สามารถชอนไชลงไปในเปลือกจนดูดเอาน้ำเลี้ยงมาเป็นอาหารได้ ต้นไม้ที่มิได้ตัดตกแต่งไว้เลยอาจใช้เพาะเลี้ยงครั่งได้ โดยลูกครั่งจะเลือกเกาะทำรังอยู่ในส่วนของกิ่งเฉพาะตรงที่เหมาะสมเท่านั้น หรือเฉพาะกิ่งที่มีอายุไม่แก่จนเปลือกแข็ง แต่ผลผลิตครั่งที่ได้ไม้ดีเท่าที่ควร ดังนั้นการตกแต่งกิ่งก่อนการปล่อยครั่งจึงมีความจำเป็น การตัดแต่งกิ่งต้องรักษารูปทรงของเรือนยอดไว้ และมีที่ว่างสำหรับกิ่งที่งอกใหม่ให้เจริญเติบโตได้ดีและต้นไม้ที่จะตัดแต่งกิ่งต้องสมบูรณ์แข็งแรง การตัดแต่งกิ่งเพื่อเก็บครั่งจงอย่าถือความสะดวกเป็นสำคัญ คือถ้ากิ่งใดมีครั่งจับอยู่จนถึงโคนหรือติดลำต้นอย่าตัดให้ชิดลำต้น ขนาดของกิ่งที่เหมาะสมที่จะตัดแต่งกิ่งนั้นมีขนาด 3/4 –1 นิ้ว ตามเส้นผ่าศูนย์กลางโดยตัดให้เหลือต่อไว้ยาวไม่เกิน 18 นิ้ว กิ่งที่แห้งตายหรือตายเป็นโรคตัดทิ้งออกให้หมด กิ่งที่มีรอยแตกร้าวหรือกิ่งหักให้ตัดรอยแตกหรือรอยหัก แต่หากต้นไม้ที่ปลูกมีขนาดอายุของกิ่งอวบอ่อนพอจะเลี้ยงครั่งได้ ก่อนปล่อยครั่งเพียงแต่ตัดสางกิ่งแห้งหรือกิ่งที่เป็นโรคไม่สมบูรณ์ออกให้หมดเท่านั้นก็พอที่จะปล่อยครั่งได้ แต่ปริมาณผลผลิตไม่ดีเท่าที่ควรเพราะอายุของกิ่งไม่เท่านั้น ครั่งจะเลือกจับเฉพาะกิ่งที่เหมาะสมเท่านั้น
4. การปล่อยครั่งเพาะเลี้ยง ต้นไม้ที่จะใช้เป็นแม่ไม้เลี้ยงครั่งได้เหมาะสมดีนั้นจะต้องมีขนาดอายุกิ่งอวบอ่วนพอดี ต้องได้รับการตัดแต่งกิ่งให้ถูกต้องหรือได้ตัดทอนกิ่งขณะที่ตัดเก็บครั่งจากต้นไม้ โดยถูกวิธีแล้วปล่อยให้กิ่งที่ตัดแต่งนั้นเจริญเติบโตมีขนาดของกิ่งอวบอ่อนพอดี คือ มีอายุกิ่ง 12 – 18 เดือน สำหรับไม้จามจุรีที่ปลูกในสภาพดินค่อนข้างสมบูรณ์สามารถ ปล่อยครั่งได้เมื่อมีอายุ 5 ปี โดยไม่ต้องตัดแต่งกิ่ง การปล่อยครั่งเพาะเลี้ยงนั้นใช้ปริมาณครั่งพันธุ์ตามขนาดและชนิดของต้นไม้ และความสมบูรณ์ของเรือนยอดเป็นหลัก
5. โรคและแมลง โดยทั่วไปแล้วไม้ยืนต้นจะเจริญเติบโตได้อย่างสม่ำเสมอถ้าไม่มีแมลงศัตรูพืชรบกวน ไม่แบกน้ำหนักมากเกินไปซึ่งต้องได้รับการตกแต่งกิ่งให้เหมาะสม และมีอาหารแร่ธาตุในดินบริบูรณ์ ดังนั้น สาเหตุของการระบาดของแมลงศัตรูพืชทั้งหลาย เช่น กรณีของไม้จามจุรีน่าจะเนื่องมาจากต้นจามจุรีอ่อนแอจากการที่มีอายุมากขึ้น และการเอาใจใส่ดูแลบำรุงรักษาไม่เพียงพอ อาจเนื่องจากงบประมาณและแรงงานน้อยอย่างไรก็ตาม จามจุรีตั้งแต่เริ่มปลูกจนเป็นต้นขนาดเล็กจะมีศัตรูทำลายลำต้นและกิ่งสดแล้ว อาจเป็นสาเหตุให้ต้นไม้ตายตั้งแต่ยังอายุน้อย ถ้าหากรอดชีวิตมีอายุมากเป็น 10 – 20 ปี แต่ขาดการดูแลรักษา เช่น ถ้าไม่ตัดตกแต่งกิ่งจะมีผลไปเพิ่มแหล่งอาหารและเป็นที่อยู่อาศัยของศัตรูพืช เช่น ด้วง ซึ่งทำลายไม้สดอยู่ตลอดทุกปี ถ้าไม่สังเกตเห็นนานวันเข้าถึงจุดๆ หนึ่งซึ่งต้นไม้อ่อนแอและมีสภาพเหมาะสมแก่การที่เพลี้ยแป้งหรือแมลงหวี่ขาวอื่นๆ ลงทำลายและระบาดหนักในเวลาต่อมาต้นไม้ไม่สามารถต้านทานได้ แมลงเหล่านี้โดยเฉพาะแมลงหวี่ขาวซึ่งระยะดักแด้มีขนาดเล็กมากเห็นเป็นจุดสีดำ จากทางด้านท้องใบ ถ้าไปเก็บมาและดูอย่างพิจารณา ก็จะคิดว่าเป็นเขม่าหรือมลพิษจากท่อไอเสีย สำหรับเพลี้ยแป้ง นอกจากจะมีชนิดที่สร้างไขแป้ง (wax) ปกคลุมตัวแล้วยังมีชนิดที่สร้างเส้นใย และไขแป้งไปพร้อมกันด้วย ซึ่งจะสังเกตได้จากใต้ต้นเป็นบริเวณขาวโพลนตลอดบริเวณที่ทำลาย เช่น กิ่งอ่อน โคนก้านใบ ตาใบ ฝักอ่อนและอื่นๆ เนื่องจากการเกาะทำลายหนาแน่นมาก นอกจากนี้ยังพบว่ามีการทำลายของพวกไรแดง (Tetramychidae) ในต้นที่เพลี้ยแป้งลงทำลายด้วยเพราะต้นไม้ต้นเดียวนั้น สามารถมีศัตรูพืชได้มากมายหลายชนิดในระยะการเจริญเติบโตที่ต่างกันของไม้นั้น แมลงศัตรูสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และโครงสร้างของปากให้เหมาะสมกับพืชอาหาร (host) ได้ดี จากการศึกษาของ ฉวีวรรณ (2536) สามารถรวบรวมแมลงที่เป็นศัตรูต้นจามจุรีได้ดังนี้ คือ พวกทำลายใบ ได้แก่ หนอนม้วนใบ (Archips micacaena Walker) เพลี้ยแป้งจามจุรี (Dysmicoccus neobrevipes Beardsley) แมลงค่อมทอง (Hypomeces squamosus (F:) และบุ้งสะแก (Trabala vishnou Lefroy) พวกทำลายเนื้อไม้ ได้แก่ แมลงทับ (Agrilus sp.) แมลงทับ 6 จุด (Chysobothris sp.) ด้วงปีกกระ (Coptops annulipes Gahan) หนอนเจาะไม้ (Xystrocera globosa Olivier) ส่วนหนอนกินเปลือกนั้นไม่ได้ทำความเสียหายให้เห็นชัดเจน มักพบในต้นที่มีอายุมาก
การป้องกันกำจัดและการควบคุม การควบคุมแมลงศัตรูจามจุรี ในระยะยาวน่าจะเป็นวิธีผสม (Integrated control) นั่นคือหลังจากใช้สารเคมีลดจำนวนศัตรูพืชจามจุรีลงไปมากแล้ว ก็น่าจะปล่อยให้เป็นหน้าที่ของศัตรูตามธรรมชาติที่จะจัดการควบคุมกันเอง เราสามารถพบศัตรูธรรมชาติของจามจุรีได้หลายชนิดทั้งตัวห้ำและตัวเบียน อาจกล่าวได้ว่าสาเหตุของการระบาดของแมลงศัตรูพืชต่างๆ คือ การขาดดุลทางธรรมชาติอย่างรุนแรงระหว่างศัตรูจามจุรีและศัตรู ธรรมชาติ นอกเหนือไปจากความอ่อนแอของต้นไม้ ภาวะแห้งแล้งและการต้านทานต่อสารเคมีของแมลงศัตรู

ปัญหาและอุปสรรค
เนื่องจากการปลูกไม้จามจุรีโดยทั่วไปเพียงเพื่อการเลี้ยงครั่งและเป็นไม้ประดับยืนต้น เท่านั้น แม้แต่การเลี้ยงครั่งเองชาวสวนครั่งของไทยประกอบอาชีพนี้เป็นอาชีพรองผลผลิตที่ได้จะไม่แน่นอน ทั้งนี้ขึ้นกับราคาครั่งถ้าราคาต่ำผู้เลี้ยงจึงไม่สนใจที่จะเลี้ยงครั่ง ความสนใจในไม้จามจุรีจึงพลอยน้อยลงไปด้วย ถึงแม้ปัจจุบันเนื้อไม้จามจุรีจะสามารถนำไปเป็นวัตถุดิบในการแกะสลัก นั่นก็เป็นเหตุทำให้การลดจำนวนของต้นจามจุรีลงการปลูกทดแทนในอัตราส่วนเท่าเทียมกันจึงไม่ได้เกิดขึ้น จามจุรีโดยทั่วไปจึงมีแต่ขนาดใหญ่ต้นเล็กๆ ที่กำลังเจริญเติบโตหาได้ยาก อาจเป็นเพราะว่าจามจุรีเป็นไม้โตเร็ว แต่การที่จะใช้ประโยชน์เนื้อไม้หรือเลี้ยงครั่งได้นั่นก็กินเวลามากกว่า 5 ปี ผลผลิตระยะแรกน้อยมากเพียง 5 กิโลกรัมต่อต้น หากจะปลูกพืชแทรกโดยใช้ระบบวนเกษตรก็ทำได้ยาก เพราะร่มของจามจุรีหนาทึบ แสงแดดผ่านลงมายาก ถ้าหากปลูกในสภาพสวนป่าผลผลิตต่อพื้นที่ต่อปีก็น้อยเกินไป รวมทั้งรัฐบาลให้ความสนใจน้อย จึงยังคงเป็นอาชีพของกลุ่มคนเล็กๆ ที่สภาพสิ่งแวดล้อมเอื้ออำนวยให้จึงสามารถทำได้ แต่ก็ไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร ทั้งๆ ที่ประโยชน์ของไม้จามจุรีมีมากมายหลายอย่างนับเป็นไม้อเนกประสงค์ชนิดหนึ่ง หากแต่การเพิ่มการประชาสัมพันธ์ให้ความรู้แก่ประชาชนทั่วไป รวมทั้งส่งเสริมให้ได้ใช้ประโยชน์จากส่วนต่างๆ ของจามจุรีอย่างเต็มที่ มีตลาดรองรับไม่เพียงแต่ด้านเนื้อไม้เท่านั้น เชื่อว่าจะเป็นการลดปัญหาการตัดไม้ทำลายป่าลงได้บ้างทีเดียว สภาพสิ่งแวดล้อมทั้งอากาศ ความชื้น และความร่มเย็นตาก็ตามมาเนื่องจากจามจุรีเป็นต้นไม้แห่งฝนนั่นเอง
การเจริญเติบโตและผลผลิต
ประเทศไทยได้กำหนดความหมายของไม้โตเร็วจากความโตของเส้นรอบวงของต้นไม้นั้นโดยวัดที่จุดสูงเพียงอก (DBH) เป็นหลักเน้นเกี่ยวกับความโตของต้นไม้ที่ใช้งานได้เป็นเกณฑ์ คือเส้นรอบวงที่จะสูงเพียงอก 100 เซนติเมตร ซึ่งไม้ที่โตวัดรอบตรงระดับความสูงได้ 100 เซนติเมตร ภายในอายุ 15 ปี จัดเป็นไม้โตเร็ว และไม้จามจุรีก็เช่นกันถ้าหากปลูกในดินทรายจะมีความเจริญเติบโตทางเส้นรอบวงถึง 10.80 เซนติเมตรต่อปี และเฉลี่ยความเจริญเติบโตทางความสูง 68 เซนติเมตร เมื่ออายุน้อยจามจุรีจะเจริญเติบโตเร็วกว่าเมื่อมีอายุมากขึ้น และจะเจริญเติบโตและให้ผลผลิตเต็มที่เมื่ออายุ 15 ปี ซึ่งสามารถให้ผลผลิตครั่งได้สูงสุด 100 – 250 กิโลกรัม โดยจามจุรีชนิดดอกสีเหลืองชมพูเปลือกเทาดำ ใบเขียวเข้ม ปล่อยครั่งได้ดีกว่าชนิดดอกสีเหลือง เปลือกขาวเทา และใบเขียวอ่อน อัตราการเจริญเติบโตของไม้จามจุรีจะมีอัตราสม่ำเสมอให้ผลผลิตทางเนื้อไม้มากหากเปรียบเทียบกับไม้มะขามแล้ว จามจุรีให้ผลผลิตเนื้อไม้มากกว่า
การใช้ประโยชน์
จามจุรีเป็นไม้เอนกประสงค์ คือสามารถใช้ประโยชน์จากต้นจามจุรีได้ในหลายๆ ด้าน เช่น เนื้อไม้ ใบ ดอก ผล นอกจากนี้ยังมีผลทางอ้อมอีก เช่น ร่มเงา การเลี้ยงครั่งเป็นต้น ประโยชน์ของไม้จามจุรีทางด้านต่างๆ สามารถจำแนกออกได้เป็น
 ประโยชน์ทางด้านเนื้อไม้
ในปัจจุบันเนื้อไม้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมแกะสลักไม้ภาคเหนือ ซึ่งมีการดำเนินงานในรูปสหกรณ์หัตถกรรมไม้ วัตถุดิบ นอกจากไม้จามจุรีคือไม้สักมีราคาแพงและหายากทำให้ไม้จามจุรีจึงมีบทบาทในการทดแทนไม้สักได้มากขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากไม้จามจุรี ราคาถูก สามารถหาได้ง่ายกว่าไม้สัก เนื้อไม้มีแก่นสีดำคล้ำสวยงาม เมื่อขัดตกแต่งจะขึ้นเงาแวววาว เป็นที่ต้องการของผู้บริโภคทุกระดับทั่วไป เนื่องจากความชื้นในไม้จามจุรีมีมาก ทำให้เกิดปัญหาไม้แตกในระหว่างการแกะสลักหรือหลังจากเป็นผลิตภัณฑ์ วิธีแก้ไข คือ การอบไม้โดยค่อยๆ เพิ่มอุณหภูมิจนกระทั่งไม่มีความชื้นหรือใกล้เคียงกับบรรยากาศทั่วไป  มูลค่าของไม้แกะสลักที่จำหน่ายจะสูงกว่ามูลค่าไม้แปรรูปเพียงใด ขึ้นอยู่กับประเภทและชนิดของไม้แกะสลักในเรื่องนี้ไม้จามจุรีจะด้อยกว่าไม้สัก และมูลค่าของไม้แกะสลักจะสูงกว่าไม้แปรรูปถึง 3 เท่า ในปี พ.ศ. 2521 มูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์ไม้แกะสลักสูงถึง 300 ล้านบาท





ประโยชน์ทางด้านอื่นๆ
1) จามจุรีเป็นแม่ไม้ที่ใช้เลี้ยงครั่งได้ผลดีมากชนิดหนึ่งโดยเฉพาะชนิดที่มีดอกสีชมพูเปลือกสีเทาดำ ใบเขียวเข้ม ครั่งจะจับได้ดี ไม้ชนิดนี้สามารถเลี้ยงครั่งทั้งรอบฤดูร้อนและฤดูฝน แต่ผลผลิตครั่งที่ได้ปริมาณมาก คือ ครั่งที่ตัดเก็บในเดือน พฤศจิกายน ธันวาคม คุณภาพของครั่งไม้ก้ามปูมีทั้งชั้นคุณภาพ A และ B ผลผลิตครั่งที่ตัดเก็บได้ประมาณ 5 – 10 กิโลกรัม ต่อต้นเมื่ออายุ 6 ปี ในเนื้อที่ 1 ไร่ หากต้นจามจุรีมีอายุตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไปจะได้ผลผลิตครั่งประมาณ 10 – 50 กิโลกรัม ต่อต้นหรือมากกว่านั้น (น้ำหนักครั่งดิบ) สำหรับมูลค่าการส่งออกครั่งในปี 2535 คือ ช่วงการส่งออกเดือนมิถุนายน 2534 ถึง เดือนพฤษภาคม 2535 คือ การส่งออกครั่งเม็ด 716 ต้น ซึ่งยังไม่ได้มีการคิดมูลค่าเป็นเงินออกมา*
2) เป็นอาหารสัตว์ ใบและฝักมีคุณประโยชน์มาก สำหรับ วัว ควาย ซึ่งมักจะชอบกินใบเขียวและใบอ่อน ฝักจะมีเนื้อที่มีสีน้ำตาลกล่าวว่าถ้าเลี้ยงแม่วัวที่รีดนม อาจทำให้นมมีคุณภาพดีขึ้น ฝักแก่ราวเดือนมีนาคม สามารถเก็บรักษาไว้เลี้ยงวัวควายได้ในกรณีหาหญ้าฟางได้ยากหรือมีราคาแพง ส่วนผสมของฝักมีคูณค่าดีเท่ากับหญ้าแห้งในการใช้เลี้ยงสัตว์ นอกจากนี้เนื้อในของฝักแก่ที่มีสีน้ำตาลยังสามารถใช้หมักเพื่อผลิตแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ ปรากฏว่าฝัก 100 กิโลกรัม จะได้แอลกอฮอล์ราว 11.5 ลิตร และฝักนั้นมีผู้นำไปใส่น้ำต้มรับประทานแบบน้ำชา มีรสหวาน ประแล่มๆ
3) ปรับปรุงสภาพดินเลวให้ดีขึ้น เนื่องจากเป็นพืชตระกูลถั่วจึงมีคุณสมบัติในการปรับปรุงคุณภาพของดินให้ดีขึ้น ใบใช้ทำปุ๋ยหมักได้ โดนเฉลี่ยมีไนโตรเจนถึงร้อยละ 3.25
4) เป็นไม้ประดับยืนต้น ที่สวยงามเนื่องจากเรือนยอดแผ่กว้างทั้งยังให้ร่มเงาที่ร่มเย็น เนื่องจากใบเป็นใบประกอบแบบผสมแบบขนนก ค่อนข้างใหญ่และอยู่ชิดกัน เมื่อพระอาทิตย์ตกดินใบจะหุบเข้าหากันครั้นรุ่งเช้าก็จะคลี่ขยายใบออก เพื่อเป็นการช่วยให้น้ำค้างที่ดินอยู่ตามกิ่งก้านหยดลงถึงพื้นดิน บรรดากล้วยไม้ที่เกาะติดอยู่ตามลำต้นและเฟิร์นที่อยู่ตามพื้นดินภายใต้ร่มเงาของจามจุรีจึงเจริญเติบโตได้ดี
5) คุณสมบัติทางด้านเคมี ต้นจามจุรีมีสารจำพวกแอลคาลอยด์ ซึ่งมีชื่อว่า พิธทิโคโลไบพบตามเปลือก ใบ เมล็ดและเนื้อไม้ แต่ที่ใบมีสารที่เป็นพิษอยู่มากเพราะประกอบด้วยแอลคาลอยด์ที่เป็นพิษอยู่มากเพราะประกอบด้วยแอลคาลอยด์ที่เป็นน้ำมัน อนุพันธ์ที่สังเคราะห์ได้จะไปตกผลึกพิธทิโคโลไบเป็นแอลคาลอยด์ที่มีพิษเป็นยาสลบซึ่งมีคุณสมบัติไปทำลายปลายประสาท




การใช้ประโยชน์ทางด้านโภชนาการ  -                                           
การใช้ประโยชน์ทางด้านสมุนไพร 
     - เปลือกต้น ป่นให้ละเอียด ใช้เป็นยาสมานรักษาแผล
     - เปลือกต้นและเมล็ด ใช้รักษาอาการท้องบิด ท้องเสีย
     - ใบ รสเมทเย็น สรรพคุณเย็น ด้านพิษ แก้ปวดแสบปวดร้อน
     - เมล็ด รสฝาดเมา แก้โรคผิวหนัง กลากเกลื้อน เรื้อน แก้เยื่อตาอักเสบ
     วิธีใช้เป็นยาสมานรักษาแผล ให้นำเปลือกที่แห้งแล้ว มาบดหรือป่นให้ละเอียดจนเป็นผง จากนั้นนำมาโรยบริเวณที่เป็นแผล ใช้ทาเรื่อย ๆ จนกว่าแผลจะหาย
     ข้อควรระวัง เมื่อรับประทานเมล็ด หรือน้ำยางเข้าไป จะทำให้เยื่อบุผนังกระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ มีอาการอาเจียนและถ่ายอย่างรุนแรง
     ประโยชน์อื่น ๆ - ฝักแก่สามารถนำมาใช้เป็นอาหารให้แก่วัว หรือควายได้
                           - ใบที่ร่วงหลนตามพื้นนำมาทำปุ๋ยหมักได้เป็นอย่างดีเพราะมีธาตุในโตรเจนสูง
        ต้นจามจุรี เป็นต้นไม้ที่นิยมปลูกเพื่อใช้เลี้ยงครั่ง เพราะโตเร็ว samsa ทนต่อการดูดเจาะน้ำเลี้ยงของครั่ง อีกทั้งไม่ผลัดใบ ทำให้อากาศชุ่มชื่นเหมาะกับการเจริญเติบโตของครั่ง
สรุป
ไม้จามจุรีเป็นที่ต้องการของคนไทย และผืนแผ่นดินไทยชนิดหนึ่งสมควรที่กรมป่าไม้จะได้มีนโยบายส่งเสริมการปลูกไม้จามจุรีทั้งในภาครัฐ และภาคเอกชนทั้งเพื่อผลโดยตรงทางด้านเนื้อไม้ และผลทางอ้อมอื่นๆ ดังที่กรมป่าไม้กำลังปฏิบัติอยู่ แต่ยังไม่มีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนว่าต้องการให้ปลูกเป็นสวนป่า หรือปลูกตามหัวไร่ปลายนาตามระบบวนเกษตร ซึ่งอาจเป็นเพราะกรมป่าไม้เองก็ยังไม่ได้ศึกษาเรื่องนี้กันอย่างจริงจัง และข้อมูลเกี่ยวกับไม้จามจุรียังมีน้อยมาก